ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน (ศ.ว.ช.)
ความเป็นมา
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน (ศ.ว.ช.) ก่อตั้งขึ้นบนประสบการณ์การทำงานของศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑลเชียงใหม่ และมิชชั่นนารีในภาคเหนือของประเทศไทย ศูนย์วิจัยฯ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมขบวนการของประชาชน และยึดหลักธรรมเป็นแนวทาง ในการนำของจิตวิญญาณของบรรพบุรุษและจิตที่ประทับในธรรมชาติ และพระจิตแห่งพระผู้สร้าง (in the guidance of the nature and ancestral spirits and the creator-spirit) คุณค่าทางศาสนา วัฒนธรรมของพวกเขาและชีวิตจิต (ที่นำโดยพระจิต Spirit-led) เป็นแนวทางอันทรงพลังที่มีบริบทเป็นฐาน ในการเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ในขณะที่ดิ้นรนต่อสู้เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ด้วยศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ศูนย์วิจัยฯ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 มกราคม 2542 เพื่อเป็นศูนย์วิจัยและฝึกอบรมในด้านศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในภาคเหนือ ทั้งกลุ่มชนพื้นเมือง ในพื้นราบ และกลุ่มชาติพันธุ์บนที่ราบสูง
วิสัยทัศน์
ศูนย์วิจัยฯ เป็นพื้นที่ของกลุ่มที่ยึดหลักธรรมเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งชีวิต เพื่อเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง และสังคมท่ามกลางสภาวะเปลี่ยนผ่าน เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายนี้ ชีวิตจะต้องเป็นทั้งการรำพึงไตร่ตรองมิติภายในและการเป็นประกาศก
พันธกิจ
จัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการดำรงชีวิตและการต่อสู้ดี้นรน เพื่อก่อให้เกิดเครื่อข่ายที่ยั่งยืนของขบวนการประชาชนท้องถิ่น ที่มีหลักธรรมเป็นจุดยึดในชีวิต
- จัดกระบวนการอบรมบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของชุมชน (Organic Intellectual) และโดยผ่านการอบรมฝึกฝน เกษตรวัฒนธรรม (การเกษตรที่อยู่บนรากฐานชีวิตจิตของประชาชน)
- เปิดพื้นที่ในการไตร่ตรองชีวิตภายใน สำหรับคนรุ่นใหม่ บนฐานของผู้นำชุมชน เพื่อให้ยั่งลึกลงไปสู่ชีวิตภายใน ที่เป็นแรงบันดาลใจของพวกเขา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนิเวศ-สังคมในบ้านเรือนส่วนรวมของเรา
- เป็นแหล่งองค์ความรู้วิจัยที่มีส่วนร่วม และสรุปบทเรียนที่มาจากฐานความเชื่อ และวัฒนธรรมท้องถิ่น
- เผยแพร่องค์ความรู้ คุณค่า และปัญญาญาณของวัฒนธรรมและชีวิตจิตของชุมชนท้องถิ่น (เช่น rice-spirituality Earth-spirituality Cosmic-spirituality)
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมการศึกษาและแลกเปลี่ยนแกนนำขององค์กรและเครือข่ายของประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม บนพื้นฐานศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชน และการยึดหลักธรรมเป็นแนวทาง
- ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะ ประสบการณ์ความเชื่อในการปฏิบัติระหว่างกลุ่ม ที่สนใจบนพื้นฐานแนวทางศาสนาวัฒนธรรมชุมชน การแลกเปลี่ยนนี้ก็จะเป็นแรงบันดาลใจพวกเขาที่จะนำไปสู่การกำหนดทิศทางนโยบาย และยุทธศาสตร์ในการทำงานที่ตอบสนองสถานการณ์ปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- จัดการศึกษาอบรมคนรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ (Organic Intellectuals OI.) เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อส่งเสริมคุณค่าศาสนาวัฒนธรรมและชีวิตภายใน โดยผ่านทางการเกษตรวัฒนธรรม (Cultural agriculture)
- ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อสรุปบทเรียน และองค์ความรู้ในการยึดหลักธรรมเป็นแนวทาง บนคุณค่าศาสนาและวัฒนธรรมจากบริบทของท้องถิ่น
- เผยแพร่บทเรียนและองค์ความรู้คุณค่าศาสนาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ปัญญาญาณ และอัตลักษณ์ของกลุ่มชนพื้นเมือง ชาติพันธุ์ต่างๆ
กิจกรรม
- การศึกษาอบรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การศึกษาอบรมที่อยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ชีวิตและการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำที่มาจากรากฐานและการศึกษาทางเลือก เพื่อผู้นำคนรุ่นใหม่จากชุมชน ในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่นที่จะคงคุณค่าศาสนาวัฒนธรรมคนรุ่นหนุ่มสาวเหล่านี้ จะอยู่ในกระบวนการ ฝึกอบรมหลักสูตรนักคิดชาวบ้าน (Organic Intellectual) และเกษตรวัฒนธรรม (Cultural agriculture) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้ และเชื่อมั่นในภูมิปัญญา-ปัญาญาญาณ ที่สืบทอดมาจากวัฒนธรรมของชุมชน เสริมสร้างจิตสำนึกในการอุทิศตนเพื่อรับใช้ชุมชนหรือสังคม และเกิดการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งในด้านคุณค่าหรือมิติภายใน ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถภายนอก
กระบวนการไตร่ตรองช่วยให้ผู้นำและคนรุ่นใหม่ค้นพบตนเองและเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกันระหว่างศาสนากับชีวิตและสามารถแสวงหาทางเลือกในการดำเนินชีวิตที่เป็นอิสระและพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมปัจจุบัน
- การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและขบวนการของประชาชน
ศูนย์วิจัยฯ ทำงานประสานและสร้างเครื่อข่ายขององค์กรชาวบ้านและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆและกับเครือข่ายอื่นๆ ในวงกว้างในการรื้อฟื้น และคืนคุณค่าความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่โลกบนพื้นฐานความเชื่อและโลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
- การศึกษาวิจัย สรุปบทเรียน และเผยแพร่องค์ความรู้
ทำการศึกษาวิจัย สรุปบทเรียน และเผยแพร่องค์ความรู้แนวทางศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน และการไตร่ตรองมิติทางศาสนาและความเชื่อในบริบทท้องถิ่นออกสู่สาธารณชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของคุณค่าศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชนในการเป็นพลังสร้างสรรค์ของชุมชนท้องถิ่น